ดาดห้อย ๒

Paraboea glabra (Ridl.) B. L. Burtt

ชื่ออื่น ๆ
หูหมี (ใต้)

ไม้ล้มลุกหลายปี ลำต้นมีเนื้อไม้ เปลือกต้นด้านล่างสีเทาอ่อน มีแขนงใหญ่หลายแขนงแตกจากโคนต้น ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปขอบขนาน ใบล่างหลุดร่วงเหลือเฉพาะรอยแผลใบ ช่อดอกแบบช่อกระจุกด้านเดียว เชิงประกอบ ออกเป็นคู่ตรงข้าม ๑-๓ ช่อ ตามซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกออกเป็นคู่ สีขาว โคนเชื่อมติดกันเป็น หลอดคล้ายรูปแตรกว้าง ผลแบบผลแห้งแตก รูปทรงกระบอกแคบ บิดเป็นเกลียวเล็กน้อย เกลี้ยง กลีบเลี้ยง ขยายขนาดหุ้มอยู่ที่โคน ติดทน เมล็ดขนาดเล็ก สีน้ำตาล มีจำนวนมาก


     ดาดห้อยชนิดนี้เป็นไม้ล้มลุกหลายปี ลำต้นมี เนื้อไม้ สูง ๒๐-๕๐ ซม. ตั้งตรง เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๘ มม. เปลือกต้นด้านล่างสีเทาอ่อน มีแขนงใหญ่หลาย แขนงแตกจากโคนต้น
     ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปขอบขนาน กว้าง ๒.๕-๕.๕ ซม. ยาว ๖-๑๘ ซม. ปลายมน โคนสอบ ขอบหยักมนตื้น แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ด้านบนสี เขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างมีขนสีน้ำตาลแนบติดกับแผ่นใบเส้นแขนงใบข้างละประมาณ ๖ เส้น ก้านใบยาว ๒-๕ ซม. ใบล่างหลุดร่วงเหลือเฉพาะรอยแผลใบเป็นระยะห่างกัน ๒-๕ ซม.

 


     ช่อดอกแบบช่อกระจุกด้านเดียวเชิงประกอบ ออกเป็นคู่ตรงข้าม ๑-๓ ช่อ ตามซอกใบใกล้ปลายยอด ช่อยาวประมาณ ๒๐ ซม. ก้านช่อยาวประมาณ ๑๐ ซม. ดอกออกเป็นคู่ ๒-๑๐ คู่ ทยอยบานครั้งละ ๑-๓ ดอก ก้านดอกยาวประมาณ ๕ มม. ใบประดับรูปไข่กลับ กว้าง และยาวประมาณ ๑ ซม. กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ยาว ประมาณ ๒ มม. ปลายแยกเป็น ๕ แฉก รูปขอบขนานถึง รูปไข่กลับ กว้าง ๒-๓ มม. ยาว ๕-๗ มม. ปลายมนหรือ ตัด กลีบดอกสีขาว โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดคล้ายรูป แตรกว้าง ยาวประมาณ ๕ มม. ปลายแยกเป็น ๕ แฉก แยกเป็น ๒ ซีก ซีกบน ๒ แฉก ซีกล่าง ๓ แฉก แฉกรูปไข่ กว้าง ๕-๗ มม. ยาว ๘-๙ มม. ปลายมน เกลี้ยง เกสรเพศผู้ ๕ เกสร ที่สมบูรณ์ ๒ เกสร ติดอยู่ในหลอดกลีบดอก ก้านชูอับเรณูเป็นแถบเกือบแบน ยาว ๒-๔ มม. สีขาว บิด งอตรงกลาง อับเรณูสีเหลือง กว้างและยาว ๒.๕-๔ มม. กางถ่ า งออก แต่ละอันติดกันเล็กน้อยที่ปลาย มีขนสั้นนุ่ม เกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน ๓ เกสร อยู่ใกล้โคนหลอดกลีบดอก เป็นติ่งแหลมสั้น ยาวประมาณ ๐.๖ มม. จานฐานดอกรูป วงแหวน เกสรเพศเมียยาวประมาณ ๙ มม. รังไข่อยู่เหนือ วงกลีบ รูปทรงกระบอกแคบ ยาวประมาณ ๒.๕ มม. สีเขียว เกลี้ยง มี ๒ ช่อง แต่ละช่องมีออวุลจำนวนมาก ก้านยอดเกสรเพศเมียยาวประมาณ ๖ มม. ยอดเกสร เพศเมียเป็นตุ่ม สีขาว

 


     ผลแบบผลแห้งแตก รูปทรงกระบอกแคบ กว้าง ประมาณ ๓ มม. ยาวประมาณ ๑.๓ ซม. เกลี้ยง บิดเป็น เกลียวเล็กน้อย กลีบเลี้ยงขยายขนาดหุ้มอยู่ที่โคน ติดทน เมล็ดขนาดเล็ก สีน้ำตาล มีจำนวนมาก
     ดาดห้อยชนิดนี้เป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวของไทย มี เขตการกระจายพันธุ์ทางภาคใต้ พบตามป่าดิบหรือตาม หน้าผาหินปูน ที่สูงตั้งแต่ใกล้ระดับทะเลถึงประมาณ ๒๐๐ ม. ออกดอกเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคม เป็นผลเดือน กันยายนถึงธันวาคม.

 

 

 

 

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
ดาดห้อย ๒
ชื่อวิทยาศาสตร์
Paraboea glabra (Ridl.) B. L. Burtt
ชื่อสกุล
Paraboea
คำระบุชนิด
glabra
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- (Ridl.)
- B. L. Burtt
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- (Ridl.) ช่วงเวลาคือ (1855-1956)
- B. L. Burtt ช่วงเวลาคือ (1913-2008)
ชื่ออื่น ๆ
หูหมี (ใต้)
ผู้เขียนคำอธิบาย
ดร.ปราโมทย์ ไตรบุญ
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.